เบต้าคาร์โรทีนและคาร์โรทีนนอยด์

เบต้าคาร์โรทีนและคาร์โรทีนนอยด์

คาร์โรทีนอนยด์(Carotenoid) เป็นสารประกอบที่มีอยู่ในพืชผัก ผลไม้ ที่มีสีแดง สีส้ม สีเขียว และสีเหลือง เช่น แครอท แคนตาลูป ผักโขม ฟักทอง สาหร่าย มีคุณสมบัติต้านอนุุมูลอิสระซึ่งเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เกิการเสื่อมของเซลล์ และอวัยวะต่างๆ สารคาร์โรทีนอยด์มีมากกว่า 600 ชนิด มีเพียงแค่ 6 ชนิดเท่านั้นที่ร่างกายสามารถนำมาใช้ในกระแสเลือดและเนื้อเยื่อ ซึ่งรู้จักกันดีคือ เบต้าคาร์โรทีน(Beta-carotene) ซึ่งมีฤทธ์สูงสุด นอกจานั้นได้แก่ อัลฟาคาร์โรทีน(Alpha-carotebe) คริปโตแซนทิน(Cryptozanthin) ไลโคปีน(Lycopene) ลูทีน(Lutein) และซีแซนทีน(Zeaxathin) โดนคาร์โรทีนอยด์แต่ละชนิดจะทำงานเสริมฤิทธิ์กัน เพื่อประโยชน์ต่อร่างกายในด้านต่างๆ นอกจากนั้นต้องรับประทานผัก ผลไม้ ในปริมาณสูงแล้ว ยังต้องทานให้หลากหลายชนิด เพื่อให้ได้คาร์โรทีนอยด์ครบอีกด้วย


ประโยชน์ของเบต้าคาร์โรทีนและคาร์โรทีนอยด์ 

ปกป้องผิวจากการถูกทำลายจากแสงแดด
เป็นที่ทราบกันดีว่า รังสี UVจากแสงแดด เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดผิวอักเสบ ร้อนแดง ผิวไหม้แดด ผวหยาบกร้าน หมองคล้ำ ไม่สดใส พบว่าการได้รับเบต้าคาร์โรทีนต่อเนื่อง ช่วยปกป้องผิวที่อาจเกิดอันตรายจากแสงแดดได้


ช่วยในการต้านอนุมูลอิสระ(Antioxidant)
อนุมูลอิสระ เป็นสารที่เกิดขึ้นในร่างกายตลอดเวลา ทั้งจากปัจจัยภายในร่างกาย เช่น ความเครียด ปฏิกิริยาต่างๆ หรืออาจเกิดการกระตุ้นจากปัจจัยภายนอกร่างกาย เช่น แสงแดด มลภาวะ บุหรี่ เบต้าคาร์โรทีนและคาร์โรทีนอยด์มีคุณสมบัติในการทำลายอนุมูลอิสระได้อย่างดี ช่วยปกป้องเซลล์ เนื้อเยื่อ และอวัยวะต่างๆ ของร่างกายจากอนุมูลอิสระ ซึ่งเป็นสาเหตุนำไปสู่การเกิดโรคเรื้อรัง เช่น การแก่ก่อนวัย โรคมะเร็ง โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด โดยพบว่าหากรับประทานเบต้าคาร์โรทีนร่วมกับวิตามินอีและวิตามินซี จะช่วยเสริมประสิทธิภาพในการปกป้องเซลล์เนื้อเยื่อและอวัยวะต่างๆ ของร่างกายได้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้เบต้าคาร์โรทีนสามารถกระตุ้นเซลล์ภูมิต้านทานในร่างกาย ให้มีประสิทธิภาพต้านสิ่งแปลกปลอมได้ดียิ่งขึ้น


เปลี่ยนเป็นวิตามิน เอ เมื่อร่างกายต้องการ(Pro vitamin A)
เบต้าคาร์โรทีน จัดว่าเป็นสารอาหารที่มีความสำคัญ โดยเฉพาะกรณีที่ร่างกายได้รับวิตามินเอไม่เพียงพอ ซึ่งวิตามินเอ มีความสำคัญต่อดวงตาในการช่วยให้เรามองเห็นในที่มืด ช่วยบำรุงสายตาป้องกันโรคตาบอดกลางคืน(Night blindness) ป้องกันการเกิดต้อกระจก 


เบต้าคาร์โรทีนจะถูกเปลี่ยนเป็นวิตามินเอได้ดีเท่าที่ร่างกายต้องการ ดังนั้นเบต้าคาร์โรทีนจึงช่วยการมองเห็นในที่มืด ป้องกันโรคตาบอดกลางคืน ลดความเสี่ยงในการเกิดต้อกระจก และชะลอการเสื่อมของจอประสาทตา


เหตุที่เราต้องเสริมเบต้าคาร์โรทีนและคาร์โรทีนอยด์

เนื่องจากร่างกายเราไม่สามารถสังเคาระห์ได้เอง จำเป็นต้องได้รับจากอาหารหรือวิตามินเสริมเท่านั้น ในแต่ละวันเรามักได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น เนื่องจากเบต้าคาร์โรทีและคาร์โรทีนอยด์ที่ได้จากอาหารมีการดูดซึมไม่แน่นอน เบต้าแคโรทีนถูกทำลายได้โดยง่ายจากความร้อนในการประกอบอาหาร หรือกรณีที่ได้จากอาหารที่ไม่ผ่านการปรุง จะมีการดูดซึมได้ไม่เกิน 5 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากจะมีการจับตัวกับสารโพลีแซคคาไรด์ และโปรตีนในรูปสารประกอบเชิงซ้อน อีกทั้งร่างกายของคนเราจะสามารถดูดซึมเบต้าคาร์โรทีนไว้ได้เพียงร้อยละ 25-27 เท่านั้น  ซึ่งไม่เพียงพอที่จะป้องกันการเกิดโรคได้นั่นเองประกอบกับบ้างคนไม่ชอบบริโภคผักหรือผลไม้ ทำให้มีโอกาสขาดสารอาหารมากขึ้น เพื่อมห้ร่างกายได้รับประโยชน์จากเบต้าคาร์โรทีนอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด  ศาสตราจารย์ แอนโทนี ดิพล็อก แนะนำให้รับประทานเบต้าคาร์โรทีน วันละ 15 มิลลิกรัม

ประโยชน์ของน้ำมันปลา

ประโยชน์ของน้ำมันปลา

น้ำมันปลาเป็นอาหารประเภทไขมัน ซึ่งประกอบไปด้วยกรดไขมันในกลุ่ม Omega-3 ซึ่งมีกรดไขมันที่จำเป็นอยู่ 2 ชนิด คือ

EPA(Eicosapentaenoic Acid) กรดไขมัน EPA มีส่วนช่วยลดระดับไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือด ป้องกันไขมันอุดตันหลอดเลือด ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ล้วนเป้นสาเหตุในการเกิดโรคหัวใจและสมองอุดตัน นอกจากนั้นยังมีส่วนช่วยบรรเทาอาการข้อเสื่อม ข้อรูมาตอยด์



DHA(Docosahexaenoic Acid) กรดไขมัน DHA มีบทบาทที่สำคัญและจำเป็นต่อการพัฒนาสมองและสายตา ช่วยเสริมสร้างและป้องกันความเสื่อมของสมองการเรียนรู้และความจำ รวมถึงระบบสายตา ให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ



สำคัญต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด 

ป้องกันโรคหัวใจและสมองขาดเลือด กรดไขมันโอเมก้า-3 ในน้ำมันปลา ช่วยยับยั้งการเกาะตัวของเกล็ดเลือดและลดไขมันในเลือด ช่วยป้องกันการอุดตันของหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงส่วนต่างๆ โดยเฉพาะหัวใจและสมอง จากผลการวิจัยพบว่ากลุ่มผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจวาย ที่รับประทานกรดไขมันโอเมก้า-3 วันละ 850 มิลลิกรัม/วัน(ปริมาณ EPA+DHA)ร่วมกับวิตามินอีธรรมชาติ 300 มิลลิกรัม/วัน  สามารถลดอัตราการตาย เนื่องจากโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด รวมถึงโรคหลอดเลือดสมองลงได้ถึง 15%



ป้องกันโรคหลอดเลือดอุดตัน กรดไขมันโอเมก้า-3 ในน้ำมันปลา เป็นสารตั้งต้นของสารกลุ่มไอโคซานอยด์ ได้แก่ พรอสตาแกลนดิน-3 และทรอมบอกซาน-3 สารกลุ่มนี้จะช่วยยับยั้งการเกาะตัวของเกร็ดเลือด มีส่วนช่วยป้องกันการอุดตันของหลอดเลือดและช่วยให้หลอดเลือดขยายตัว ทำให้ระบบไหลเวียนของเลือดในร่างกายดีขึ้น ลดการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติ



ช่วยลดระดับไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือด ไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือดสูง เป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ผลการวิจัยพบว่ากรดไขมันโอเมก้า-3 ในน้ำมันปลามีประสิทธิภาพที่ดีในการลดระดับไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือด สามารถช่วยลดระดับไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือดได้ ประมาณ 20-50% ซึ่งประสิทธิภาพเทียบเท่ากับยาที่ใช้ลดระดับไตรกลีเซอร์ไรด์ และถึงแม้ว่าผู้ป่วยที่มีระดับไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์สูงถึง 500 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร น้ำมันปลาก็ยังเป็นทางเลือกที่เหมาะสม เพื่อช่วยลดระดับไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือดได้เป็นอย่างดี และที่สำคัญคือ ความปลอดภัย ไม่มีผลข้างเคียงต่อร่างกาย สามารถใช้ร่วมกับยาหรือสารสกัดจากธรรมชาติโพลีโคซานอล ในการลดระดับไขมันโคเลสเตอรอล



ลดความดันโลหิต จากผลการวิจัยของ John Hopkins Medical School ได้รวบรวมผลการศึกษาจาก 17 รายงานการศึกษาทางคลีนิค พบว่าการรับประทานกรดไขมันโอเมก้า-3 วันละ 3,000 มิลลิกรัม สามารถช่วยลดความดันล่าง(diastolic pressure)ได้ 3.5 มิลลิเมตรปรอท และความดันบน(systolic prssure)ได้ถึง 5.5 มิลลิเมตรปรอท เนื่องจากกรดไขมันโอเมก้า-3 ในน้ำมันปลาจะช่วยทำให้หลอดเลือดขยายตัว และป้องกันการอุดตันของหลอดเลือด ทำให้ไหลเวียนของเลือดดีขึ้น มีผลทำให้ความดันโลหิตลดลง น้ำมันปลาจะไม่มีผลต่อความดันในผู้ที่มีความดันปกติ



ลดอาการข้อเสื่อม ข้อรูมาตอยด์ กรดไขมันโอเมก้า-3 ในน้ำมันปลาสามารถบรรเทาอาการข้อเสื่อมและข้อรูมาตอยด์ เนื่องจากมีผลลดการสร้างสารที่ก่อให้เกิดการอักเสบของข้อ เช่น Interleukin-1, Tumor necrosis factor และกรดไขมัน EPA ในน้ำมันปลาเป็นสารตั้งต้นในการสร้าง PGE3 ช่วยลดการอักเสบของข้อ 



ผลการศึกษาจาก Harvard Medical School ทำการรวบรวมผลการศึกษาในผู้ป่วยไขข้ออักเสบ 368 ราย ที่รับประทานน้ำมันปลาพบว่าช่วยลดอาการเจ็บและข้อตึงในตอนเช้า การรับประทานน้ำมันปลาเป็นทางเลือกหนึ่งของผู้ป่วยที่มีปัญหาข้อเสื่อม ข้ออักเสบเรื้อรังเพื่อบรรเทาอาการปวด แทนการรับประทานยาแก้ปวด ซึ่งมีผลข้างเคียงตับ ไต และกระเพาะอาหาร



การวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร Surgical Neurology ระบุว่าน้ำมันปลาสามารถช่วยบรรเทาอาการปวดคอ หรือปวดกลังเรื้อรัง โดยทำการศึกษากับผู้ป่วย 250 คน ได้รับประทานกรดไขมันโอเมก้า-3 วันละ 2,600 มิลลิกรัม(ปริมาณ EPA+DHA) ในช่วง 2 สัปดาห์แรก หลังจากลดปริมาณลงเหลือวันละ 1,200 มิลลิกรัม (ปริมาณ EPA+DHA)พบว่าหลังจากรับประทานน้ำมันปลา 75 วัน ผู้ป่วยประมาณ 59% สามารถเลิกรับประทานยาแก้ปวดต่างๆ ผู้ป่วยประมาณ 60% พบว่าอาการปวดหลัง  และปวดคอลดลง และผู้ป่วยกว่า 88% รู้สึกพึงพอใจกับผลที่ได้รับและยืนยันจะรับประทานน้ำมันปลาต่อ



บำรุงสมอง เสริมความจำ ป้องกันโรคสมองเสื่อมเสื่อมการทำงานของเซลล์สมอง ป้องกันโรคสมองเสื่อมจากการศึกษาพบว่า 40% ของกรดไขมันในสมองและ 60% ของกรดไขมันในประสาทตา คือ กรดไขมัน DHA 


กรดไขมัน DHA มีบทบาทสำคัญและจำเป็นต่อสมอง ผลการวิจัยทางการแพทย์จากมหาวิทยาลัย UCLA ของอเมริกา พบว่าการรับประทานน้ำมันปลาช่วยป้องกันสมองเสื่อม หรือโรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer)ได้ เนื่องจาการศึกษาเกี่ยวกับโรคอัลไซเมอร์ในผู้สูงอายุกว่า 1,000 คน เป็นเวลา 10 ปี พบว่าระดับกรดไขมัน DHA ลดต่ำลงก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคสมองเสื่อมได้



ลดภาวะซึมเศร้า จากผลการวิจัยพบว่าผู้ที่บริโภคปลาเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง มีอัตราเป็นโรคซึมเศร้าต่ำ เพราะสมดุลของกรดไขมันในร่างกาย มีผลต่อความรุนแรงในการเกิดโรคซึมเศร้า คนที่มีระดับกรดไขมันโอเมก้า-3 ต่ำ และกรดไขมันโอเมก้า-6 สูงมีภาวะเกิดโรคซึมเศร้ามากกว่าปกติ 



เบาหวาน  เบาหวานชนิดที่สองมักพบในผู้ใหญ่ที่อ้วน ซึ่งนักวิจัยชาวเนเธอร์แลนด์ค้นพบว่ากรดไขมัน EPA ในน้ำมันปลา ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด



ปวดไมเกรน กรดไขมัน EPA ในน้ำมันปลา มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของสารพรอสตาแกลนดิน และลดการหลั่งซีโลโทนินทำให้การเกาะตัวของเกล็ดเลือดลดลงในระยะที่มีการบีบตัวของหลอดเลือดในสมอง จึงมีส่วนช่วยลดอาการไมเกรน



หอบหืด การรับประทานน้ำมันปลาช่วยลดสารที่ก่อให้เกิดการอักเสบ ที่เป็นตัวสำคัญให้เกิดอาการหอบหืด คือ สารลิวโคไตรอินและพรอสตาแกลนดิน การรับประทานน้ำมันปลาอย่างต่อเนื่องจะช่วยบรรเทาอาการหอบหืดได้


สะสมเนื้อกระดูกช่วงวัยรุ่น ป้องกันกระดูกพรุนตอนแก่



 ป้องกันโรคกระดูกพรุน

สะสมเนื้อกระดูกช่วงวัยรุ่น ป้องกันกระดูกพรุนตอนแก่

สะสมเนื้อกระดูกให้มากที่สุดในช่วงวัยรุ่น เหตุมวลกระดูกค่อย ๆ หายไปเมื่ออายุมากขึ้น เสี่ยงโรคกระดูกพรุน แนะกินอาหารแคลเซียมสูง ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ช่วยป้องกันได้



กระดูกเป็นเนื้อเยื่อพิเศษ มีหน้าที่เป็นโครงสร้างสำหรับเป็นที่เกาะของกล้ามเนื้อและเอ็นยึดต่าง ๆ เป็นเกราะป้องกันการกระทบกระแทกเป็นแกนสำหรับการเคลื่อนไหวที่เกิดจากการดึงหรือหดตัวของกล้ามเนื้อเป็นแหล่งสังเคราะห์เซลล์เม็ดเลือดชนิดต่าง ๆ รวมทั้งเป็นคลังของเกลือแร่ที่สำคัญต่อร่างกาย คือ แคลเซียม 



โรคกระดูกพรุน คือ ภาวะที่เนื้อเยื่อกระดูกผุกร่อนไปจากปกติโครงกระดูกซึ่งเคยแข็งแกร่งจะเปลี่ยนเป็นโครงที่ผุกร่อนพร้อมจะแตกหักได้ทุกเมื่อ โดยมีสาเหตุมาจากกระบวนการเสริมสร้างกระดูกลดลงและเนื้อเยื่อเสื่อมสลายในช่วงอายุ 30 ปีขึ้นไป


“ตามปกติเพศหญิงจะมีมวล
กระดูกน้อยกว่าเพศชาย เมื่อถึงวัยหมดประจำเดือนเพศหญิง จึงมีอัตราการสูญเสียมากกว่าการสร้างกระดูก จึงทำให้เกิดภาวะกระดูกพรุน สำหรับอาการของโรคกระดูกพรุนมักจะไม่แสดงอาการเตือนภัยใด ๆ อาจมีแค่ปวดเมื่อย คนทั่วไปมักไม่ทราบว่าตนเองเป็นโรคกระดูกพรุนจนกว่าเข้าจะรับการรักษากระดูกจากอุบัติเหตุเพียงเล็กน้อย หรือมีอาการปวดหลัง หลังโก่งค่อมหรือโค้งงอ ตัวเตี้ยจากการยุบตัวลงของกระดูกสันหลัง”



แนวทางการป้องกันโรคกระดูกพรุน คือ การสะสมเนื้อกระดูกให้มากที่สุดในช่วงวัยรุ่น พยายามรักษาปริมาณเนื้อกระดูกให้คงเดิมมากที่สุดในวัยก่อนหมดประจำเดือน และชะลอการถดถอยของเนื้อกระดูก เพื่อลดความเสี่ยงการเกิดกระดูกหักในวัยหลังหมดประจำเดือน โดยเฉพาะตำแหน่งที่อาจเกิดขึ้นบ่อย ได้แก่ กระดูกข้อสะโพก กระดูกสันหลัง และกระดูกข้อมือ


นอกจากนี้ ควรเลือกรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมตามปริมาณที่ร่างกายต้องการ คือ 800 - 1,200 มิลลิกรัมต่อวัน และควรกินแคลเซียมหลังอาหารเพื่อสร้างความแข็งแรงให้
กระดูกและฟัน เช่น นม เนยแข็ง ผลิตภัณฑ์จากนม ปลาเล็กปลาน้อยพร้อมกระดูก กุ้งแห้ง กุ้งฝอย ถั่วแดง งาดำ อาหารทะเล ผักใบเขียวทุกชนิด ดื่มน้ำที่มีสารฟลูออไรด์ หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และการดื่มสุรา ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และควรเพิ่มการดูดซึมสารแคลเซียมโดยการเพิ่มวิตามินดีในรูปของอาหารหรือยา อาหารวิตามินดีสูง ได้แก่ นม น้ำมันตับปลา เนยแข็ง เนย ไข่ และตับ เป็นต้น นอกจากนี้ การได้รับแสงแดดจะสามารถช่วยเพิ่มการสังเคราะห์วิตามินดี ทางผิวหนังได้อีกด้วย






ดื่มน้ำเพื่อผิวสุขภาพดี

ดื่มน้ำเพื่อผิวสุขภาพดี

ร่างกายมนุษย์ประกอบด้วยน้ำถึง 70% โดยทุกเซลล์จะมีน้ำเป็นองค์ประกอบ และจะมีการหมุนเวียนน้ำในร่างกายตลอดเวลา ดังนั้นน้ำจึงเป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญมากต่อมนุษย์เรา ซึ่ง ศ.นพ.สมศักดิ์ วรคามิน อดีตปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ระบุว่า โรคภัยไข้เจ็บในปัจจุบันก็เริ่มต้นมาจากสาเหตุง่ายๆ แต่ไม่มีผู้ใดให้ความสนใจคือ เราดื่มน้ำน้อยจนเกินไป



การดื่มน้ำที่น้อยจนเกินไป ทำให้ไม่เพียงพอต่อความต้องการขั้นพื้นฐานของร่างกาย เมื่อร่างกายเจ็บป่วยร่างกายจึงเรียกร้องขอน้ำ แต่เรากลับไม่ทราบว่าร่างกายขาดน้ำแต่กลับไปพูดถึงการเป็นโรค เชื่อว่าทุกคนคงอยากให้ตัวเองมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ เรามีวิธีแนะนำการดื่มน้ำเพื่อให้มีสุขภาพที่ดีดังนี้



ดื่มน้ำสะอาด ปราศจากสิ่งปนเปื้อนที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 8 แก้ว โดย 1แก้วมีขนาดประมาณ 240 ซีซี โดยระยะเวลาที่ควรดื่มในหนึ่งวันอาจเปลี่ยนแปลงได้บ้างเล็กน้อย ตามสะดวกคือ ตื่นนอนตอนเช้า 1 แก้ว ตอนสาย (ประมาณ 09.00-10.00 น.) 2 แก้ว ตอนบ่าย (ประมาณ 13.00-14.00 น.) 3 แก้ว ตอนเย็น (ประมาณ 19.00-20.00 น.) 3 แก้ว และก่อนเข้านอน 1 แก้ว เพื่อให้น้ำที่ดื่มไหลเวียนชะล้างสิ่งที่ตกค้างในลำไส้และกระเพาะอาหาร ถ้าเป็นน้ำอุ่นจะช่วยให้หลับสบาย 



ไม่ดื่มน้ำที่ร้อนมากหรือเย็นจัด ถ้าเป็นน้ำอุ่นเล็กน้อยดื่มในตอนเช้าจะทำให้การขับถ่ายดีขึ้น ลำไส้สะอาด

ไม่จำเป็นต้องดื่มน้ำครั้งละ 2-3 แก้ว ติดต่อกันทันทีให้ดื่มตามปกติ ค่อยๆจิบ

ไม่ควรดื่มน้ำมากประมาณครึ่งชั่วโมง ก่อนและหลังรับประทานอาหาร

ไม่ควรรับประทานอาหารพร้อมกับน้ำดื่มตลอดเวลา

ควรมีน้ำสะอาดบรรจุขวด สำหรับเป็นน้ำดื่มพกติดตัวขณะเดินทาง

การดื่มน้ำที่สะอาดอย่างเพียงพอจะช่วยให้ระบบในร่างกายได้รับการกระตุ้นและพร้อมที่จะทำงาน


ประโยชน์ของการดื่มน้ำ

นัยน์ตาสดใสเป็นประกาย เพราะมีน้ำหล่อเลี้ยงแวววาวตลอด ไม่มีเส้นเลือดแดงก่ำ ไม่แสบตา ใบหน้าชุ่มชื่น เต่งตึงเป็นสีชมพู เพราะเลือดไหลเวียนดี ปาก ลิ้นสะอาด ไม่ร้อนใน ผิวกายไม่เหี่ยวย่น ลมหายใจสะอาดสดชื่น หายใจโล่งเย็น เลือดไม่ข้น การไหลเวียนเป็นไปได้ง่าย สูบฉีดดี หัวใจจึงไม่ทำงานหนัก ไม่เมื่อยล้า ไม่เหนื่อยง่าย หัวใจเป็นปกติ มีประสิทธิภาพดีและแข็งแรง ระบบขับถ่ายดี ไม่ท้องผูก ไตดี ปัสสาวะใสสะอาด ไม่ปวดหลังปวดเอว รูขุมขนมีเหงื่อชุ่มเสมอ
 ดื่มน้ำเพื่อผิวสุขภาพดี

ดูแลผิวด้วยขั้นตอนเฉพาะ

ดูแลผิวด้วยขั้นตอนเฉพาะ

การดูแลผิวด้วยขั้นตอนเฉพาะก็เป็นสิ่งจำเป็นเช่นกัน เพราะสภาพผิวของแต่ละคนอาจต่างกัน เช่น การผิดเพี้ยนของสีผิว,สิว,ริ้วรอย ซึ่งสิ่งเหล่านี้ เป็นสร้างให้กับความกังวลให้กับหลายๆท่าน เกี่ยวกับสุขภาพและความงามของผิว



การบำรุงผิว(Nourish) เป็นขั้นตอนที่สำคัญ เพื่อต้านอนุมูลอิสระ และรักษาความอ่อนเยาว์ให้กับผิว



การรักษาผิว(Treat) เป็นขั้นตอนการดูแลเฉพาะ เกี่ยวกับส่วนประกอบสำคัญของโครงสร้างผิวและการทำงาน ซึ่งผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่เป็นสูตรเฉพาะเจาะจงส่วนประกอบ



Refinish คือขั้นตอนการรักษาและฟื้นฟูสภาพผิว เช่น รอยหลุมสิว รูขุมขนกว้าง เป็นการช่วยให้ผิวดูตื้นขึ้น และรูขุมขนกระชับ



การขัดผิว(Exfoliate) คือการขจัดเซลล์ผิวที่ตายออก เพื่อให้มีการสร้างเซลล์ผิวใหม่ ทำให้เรียบเนียน และอ่อนเยาว์ชึ้น



การมาส์ก(Mask) เป็นขั้นตอนการดูแลผิวที่ต้องการ การดูแลเฉพาะซึ่งการมาส์กเป็นวิธีที่ดี สำหรับหลายๆปัญหาของผิว มาส์กบางชนิดช่วยแก้ปัญหาผิวโดยเฉพาะ บางชนิดช่วยดึงความสกปรกออกไป



การฟื้นฟูผิว(Revitalize) คือผิวที่เหนื่อยและเครียด ผิวหย่อนคล้อย ขั้นตอนนี้คือการฟื้นฟูให้กลับมาสดใส เพิ่มพลังงานแก่เซลล์ การฟื้นฟูทำหลังจากทำความสะอาดและควรทำทุกๆสัปดาห์



 ดูแลผิวหน้าด้วยขั้นตอนเฉพาะ

ดูแลผิวด้วยขั้นตอนพื้นฐาน

ดูแลผิวด้วยขั้นตอนพื้นฐาน

ขั้นตอนพื้นฐานสำหรับการดูแลผิวมี 4 อย่าง คือ การทำความสะอาด,การปรับสภาพผิว,การป้องกัน และการให้ความชุ่มชื้น ซึ่งเป็นขั้นตอนการดูแลผิวในแต่ละวัน ซึ่งผิวมีความต้องการสิ่งที่จำเป็น 10 อย่าง เพื่อคงรูปลักษณ์ที่ดี


การทำความสะอาด (Cleanse)ควรทำความสะอาดผิวสองครั้งต่อวัน เป็นการชำระล้างไขมันส่วนเกิน,ความสกปรก ถ้าหากสิ่งสกปรกเหล่านี้ไม่ถูกขับออก อาจก่อให้เกิดการอุดตันรูขุมขน ผิวหมองคล้ำ บางครั้งเกิดการอักเสบได้


การปรับสภาพผิว(Tone)ทำหลังจากขั้นตอนการทำความสะอาดวันละสองครั้ง ต้องทำทุกวันเพื่อปรับค่าpH,ลดความชัดเจนของรูขุมขน,ปรับสภาพผิวให้เย็นลง เพื่อเตรียมผิวสำหรับ รับประโยชน์จากผลิตภัณฑ์


การป้องกัน(Protect)เป็นขั้นตอนที่สำคัญขั้นตอนหนึ่ง เพื่อปกป้องผิวจากรังสียูวี แสงแดด สภาพแวดล้อมที่ก่อให้เกิดความเครียด ปกป้องการทำงานของสีผิว และความชุ่มชื้นของผิว การใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีค่า SPF ก็สามารถช่วยปกป้องผิวได้เช่นกัน


การให้ความชุ่มชื้น(Hydrate)ควรใช้วันละครั้ง ในตอนกลางคืนเพื่อเติมความชุ่มชื้นและซ่อมแซมผิวอย่างมีประสิทธิภาพ

 ดูแลผิวด้วยขั้นตอนพื้นฐาน
ดูแลผิวด้วยขั้นตอนพื้นฐาน